วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นักล่ายุคไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์โครตนักล่า

ไจแกนโนโทซอรัส
ยักษ์นักล่าชนิดแรกที่จะกล่าวถึง คือ ไจแกนโนโทซอรัส ฟอสซิลของมันถูกพบครั้งแรกในพาตาโกเนีย ที่อาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ. 1993 ไจแกนโนโทซอรัสครองตำแหน่งนักล่าสุดยอดของอเมริกาใต้เมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว ด้วยน้ำหนักถึง 8 ตัน ความยาว 13.8 เมตร ฟันของมันค่อนข้างสั้นและบาง ลักษณะคล้ายกริช ซึ่งเหมาะที่จะใช้ฉีกเนื้อมากกว่าขบกระดูก นักวิทยาศาสตร์คิดว่า พวกไจแกนโนโทซอรัสน่าจะสังหารเหยื่อขนาดใหญ่ด้วยการพุ่งเข้าไปกัด กระชากเนื้อให้เกิดแผลใหญ่และรอให้เหยื่อเสียเลือดจนหมดกำลังล้มลง กลายเป็นอาหารของมัน
สไปโนซอรัส
ในบรรดาไดโนนักล่าทั้งหมด สไปโนซอรัส ได้ครองตำแหน่งไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลก ฟอสซิลของมันถูกขุดพบที่อียิปต์ในปี ค.ศ. 1912 สไปโนซอรัสปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 100 ล้านปีแล้วมันกระโหลกศีรษะคล้ายจรเข้ และมีความยาวจากหัวจรดหางกว่า 15 เมตรและหนักราว 9 ตัน
แขนของมันมีขนาดใหญ่กว่าพวกนักล่าร่างยักษ์อื่น ๆ ทั้งยังมีกรงเล็บแหลมคมสำหรับใช้จับเหยื่อ ฟันรูปกรวยแบบเดียวกับจรเข้ของมัน แสดงให้เห็นว่าเหมาะกับการล่าปลาขนาดใหญ่ แต่ก็เช่นเดียวกับจรเข้ พวกสไปโนซอรัสก็น่าจะเชี่ยวชาญในการสังหารเหยื่ออื่นๆซึ่งก็รวมถึงไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน สไปโนซอรัสมีแผงกระดูกขนาดใหญ่บนหลัง ทำให้มันดูโดดเด่นและช่วยให้ขนาดของมันดูใหญ่ขึ้นไปอีก ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่า แท้จริงแล้ว แผงกระดูกดังกล่าวคืออะไร ระหว่างแผ่นหนังแบบกระโดงคล้ายปลากระโทงแทง หรือ อาจจะหุ้มด้วยกล้ามเนื้อแบบเดียวกับหนอกของควายไบซัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น