วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ไดโนเสาร์กินเนื้อ"1"

                                    ไดโนเสาร์ "กินเนื้อ"


กิก้าโนโตซอรัส (อังกฤษ: Giganotosaurus) (สะกดได้2แบบ กิก้าโนโตซอรัส และจิกแกนโนโตซอรัส) มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ทุ่งปาตาโกเนียที่ประเทศอาร์เจนตินาช่วง กลางยุคครีเตเซียส 93 - 89 ล้านปี พบซากฟอสซิลในปี1993 เป็น ใน ไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตและดุที่สุด ยาว13.5เมตร และนํ้าหนักอยู่ระหว่าง 6.5-13.3 ตัน ความยาวกะโหลกศรีษระ 1.95 เมตร (6.3ฟุต) ขนาดของมันยาวกว่า ไทรันโนซอรัส แต่เล็กกว่า สไปโนซอรัส แต่ทว่ามันก็ยังมีคู่แข่งทางด้านขนาดอย่าง อัลโลซอรัส ที่ยาว 9เมตร (36ฟุต) คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่ยาว13เมตร (42ฟุต) สไปโนซอรัส ที่ยาว18เมตร (59ฟุต) ไทรันโนซอรัส ที่ยาว 12.5เมตร (40ฟุต) อโครแคนโตซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) มาพูซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) ซึ่งไม่ได้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกันกับ กิก้าโนโตซอรัส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า กิก้าโนโตซอรัส สามารถทำความเร็วได้ถึง 14 เมตรต่อวินาที (50kmต่อชั่วโมง)ด้วยขนาดอันใหญ่โตและขาที่ยาวของมัน



ซอราโตซอรัส (อังกฤษ: Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร

มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
ฟันของของเซอราโตซอรัสยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า
บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซอราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น