วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ไดโนเสาร์กินพืช "2"

   อีกัวโนดอน ชื่อไดโนเสาร์: อีกัวโนดอน หมายถึง iguana-tooth 

สถานที่พบ : ทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา 
ความยาว : 10 เมตร ความสูง : 5 เมตร น้ำหนัก : 4500 กิโลกรัม 
ลักษณะการเดิน : เดิน 2 ขาหรื 4 ขา ลักษณะของฟัน : มีขอบปากเป็นกระดูกไว้เคี้ยวอาหาร,มีฟันเหมือนสิ่ว 
อาหาร : ใบไม้และพืชที่มีต้นอ่อนนุ่ม  
มีชีวิตอยู่ในยุค : ครีเตเซียส ประมาณ 135-125 ล้านปี 
ข้อมูลเพิ่มเติม : มีกระดูกแหลมที่นิ้วหัวแม่มือใช้สำหรับป้องกันตัว   


เซนโทรซอรัส ชื่อไดโนเสาร ์: เซนโทรซอรัส หมายถึง กิ้งก่ามีเขา 
สถานที่พบ : ทวีปอเมริกาเหนือ 
ความยาว : 6 เมตร ความสูง : 2 เมตร น้ำหนัก : 1,000 กิโลกรัม 
ลักษณะการเดิน : เดิน4ขา ลักษณะของฟัน : มีขอบปากเป็นกระดูกสำหรับเคี้ยวอาหาร 
อาหาร : พืชที่มีอยู่ทั่วไป 
มีชีวิตอยู่ในยุค : ครีเตเซียส ประมาณ 46-74 ล้านปีก่อน 
ข้อมูลเพิ่มเติม : มีเขาอยู่ที่จมูกและมีกระดูกแหลมรอบแผงคอด้านหลัง



ฮิปซิโลโพดอน ชื่อไดโนเสาร์: ฮิปซิโลโพดอน หมายถึง high-ridge-tooth 
สถานที่พบ : ทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปยุโรป 
ความยาว : 2 เมตร ความสูง : 3 เมตร น้ำหนัก : 50 กิโลกรัม
ลักษณะการเดิน : เดิน2ขา ลักษณะของฟัน : มีขอบปากเป็นกระดูกไว้เคี้ยวอาหาร,มีฟันเหมือนสิ่ว                          
อาหาร : ใบไม้และพืชที่มีต้นอ่อนนุ่ม 
มีชีวิตอยู่ในยุค : ครีเทเชียสประมาณ 125 ล้านปีก่อน 
ข้อมูลเพิ่มเติม : มีต้นขาสั้นและมีกระดูกหน้าแข้งยาวซี่งทำให้มัน สามารถกระโดดได้ไกล และวิ่งเร็ว





เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus)
ป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลางลักษณะเฉเพาะของเทอริสิโนซอรัสที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันกินเนื้อคือ มันเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร และเดินสองขาเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อ ทำให้ตอนแรกมันถูกคิดว่าเป็นพวกกินเนื้อ แต่ในปัจจุบัน มันจัดอยู่ในไดโนเสาร์กินพืช เนื่องจากลักษณะฟันที่เป็นซี่เล็กๆเรียงกัน ใช้ไม่ได้กับการกัด หรือเคี้ยวเหนือ ส่วนเล็บที่มันมีก็ไม่เหมาะกับการฉีกเหยื่อ เพราะเบาะบางเกินไป ดังนั้นเล็บที่ยาว 70 เซนติเมตรของมัน จึงใช้ในการตัดใบไม้ลงมาจากต้น หรือป้องกันตัวโดยการขู่เท่านั้น นอกจากมันจะมีลักษณะเฉเพาะคือเล็บของมันแล้ว มันยังมีขาหน้าที่ยาว 2 เมตรด้วย ทั้งๆที่มันเดินด้วยขาหลัง ส่วนความยาวของมันน่าจะยาวประมาณ 7-9 เมตร




ไดโนเสาร์กินพืช ''1''





เคนโทรซอรัส (Kentrosaurus)

ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร


สเตโกซอรัส ชื่อไดโนเสาร์: สเตโกซอรัส หมายถึง ไดโนเสาร์หุ้มเกาะ 
สถานที่พบ : ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา 
ความยาว : 3-9 เมตร ความสูง : 6 เมตร น้ำหนัก : 10,000 กิโลกรัม 
ลักษณะการเดิน : เดิน4ขา ลักษณะของฟัน : ลักษณะเป็นจะงอย 
อาหาร : ใบไม้ กิ่งไม้และพืชที่มีต้นอ่อนนุ่ม
 มีชีวิตอยู่ในยุค : จูราสสิก ประมาณ 155-145 ล้านปีก่อน 
ข้อมูลเพิ่มเติม : มีแผงหลังบริเวณกลางลำตัวเพื่อระบาย





เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus
เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้
จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลางลักษณะเฉเพาะของเทอริสิโนซอรัสที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันกินเนื้อคือ มันเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร และเดินสองขาเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อ ทำให้ตอนแรกมันถูกคิดว่าเป็นพวกกินเนื้อ แต่ในปัจจุบัน มันจัดอยู่ในไดโนเสาร์กินพืช เนื่องจากลักษณะฟันที่เป็นซี่เล็กๆเรียงกัน ใช้ไม่ได้กับการกัด หรือเคี้ยวเหนือ ส่วนเล็บที่มันมีก็ไม่เหมาะกับการฉีกเหยื่อ เพราะเบาะบางเกินไป ดังนั้นเล็บที่ยาว 70 เซนติเมตรของมัน จึงใช้ในการตัดใบไม้ลงมาจากต้น หรือป้องกันตัวโดยการขู่เท่านั้น นอกจากมันจะมีลักษณะเฉเพาะคือเล็บของมันแล้ว มันยังมีขาหน้าที่ยาว 2 เมตรด้วย ทั้งๆที่มันเดินด้วยขาหลัง ส่วนความยาวของมันน่าจะยาวประมาณ 7-9 เมตร





วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครตนักล่ายุค"ไดโนเสาร์"

ไทรันโนซอรัส เร็กซ์
มื่อประมาณ 72 ล้านปีที่แล้ว  นักล่าที่โด่งดังที่สุดได้ปรากฏขึ้นบนโลกก่อนที่ยุคไดโนเสาร์จะสิ้นสุดลง นั่นคือ ไทรันโนซอรัส หรือ ที – เร็กซ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ชื่อของมันแปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ พวกมันครอบครองส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือในปลายยุคครีตาเชียส ฟอสซิลของที-เร็กซ์ถูกขุดพบครั้งแรกที่รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1900 นักล่าชนิดนี้หนัก 6 ตัน ยาวราว 13 เมตร และมีกระโหลกสั้นกว่าไดโนยักษ์นักล่าชนิดอื่น และแม้ว่ามันจะมีขนาดย่อมกว่าโคตรนักล่าชนิดอื่น ๆ แต่ก็มีอาวุธสังหารที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน ฟันของมันมีขนาดใหญ่และหนา จนสามารถใช้ขบกระดูกชิ้นโต ๆ ได้อย่างสบาย โพรงจมูกของที-เร็กซ์ค่อนข้างใหญ่กว่าพวกนักล่าอื่น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกมันสามารถดมกลิ่นได้ดีในระยะไกล จนทำให้บางคนคิดว่า พวก ทีเร็กซ์น่าจะเป็นพวกกินซากแบบไฮอีน่ามากกว่านักล่า โดยดมกลิ่นหาซากสัตว์และใช้ฟันที่แข็งแรงขบกระดูกของซาก อย่างไรก็ตาม รูปร่างที่ล่ำสัน กรามและศีรษะขนาดใหญ่อันทรงพลังก็แสดงให้เห็นว่า เจ้ายักษ์ตัวนี้น่าจะมีความสามารถในการสังหารเหยื่อได้ไม่แพ้นักล่าชนิดอื่น ๆ
ในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากไทรันโนซอรัสแล้ว ยังมีนักล่าขนาดยักษ์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับมันอาศัยอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วย อย่างเช่น แอลเบอตาซอรัส และทาโบซอรัส อย่างไรก็ตาม ไดโนเสาร์นักล่าเหล่านี้ ก็ยังคงมีขนาดเล็กและบอบบางกว่า ที-เร็กซ์

คาชาโรดอนโทรซอรัสกำลังจูโจมพาราไลไตตัน ซอโรพอดยักษ์หนัก 90 ตัน
คาชาโรดอนโทรซอรัส หรือ กิ้งก่าฟันฉลาม เป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีลักษณะคล้ายกับไจแกนโนโทซอรัส ฟอสซิล ของมันถูกพบเป็นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1995 ที่โมร็อกโก คาชาโรดอนโทรซอรัสครองความเป็นใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกาในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ไจแกนโนโทซอรัสครองอเมริกาใต้ มันมีขนาดและน้ำหนักที่พอ ๆ กัน และคงจะเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสีหากว่าจับเอาพวกมันมาเผชิญหน้ากัน อาหารหลักของคาชาโรดอนโทรซอรัสน่าจะเป็นพวกซอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์คอยาว ขนาดมหึมา ที่พบอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกายุคนั้น



นักล่ายุคไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์โครตนักล่า

ไจแกนโนโทซอรัส
ยักษ์นักล่าชนิดแรกที่จะกล่าวถึง คือ ไจแกนโนโทซอรัส ฟอสซิลของมันถูกพบครั้งแรกในพาตาโกเนีย ที่อาร์เจนตินา เมื่อปี ค.ศ. 1993 ไจแกนโนโทซอรัสครองตำแหน่งนักล่าสุดยอดของอเมริกาใต้เมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว ด้วยน้ำหนักถึง 8 ตัน ความยาว 13.8 เมตร ฟันของมันค่อนข้างสั้นและบาง ลักษณะคล้ายกริช ซึ่งเหมาะที่จะใช้ฉีกเนื้อมากกว่าขบกระดูก นักวิทยาศาสตร์คิดว่า พวกไจแกนโนโทซอรัสน่าจะสังหารเหยื่อขนาดใหญ่ด้วยการพุ่งเข้าไปกัด กระชากเนื้อให้เกิดแผลใหญ่และรอให้เหยื่อเสียเลือดจนหมดกำลังล้มลง กลายเป็นอาหารของมัน
สไปโนซอรัส
ในบรรดาไดโนนักล่าทั้งหมด สไปโนซอรัส ได้ครองตำแหน่งไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลก ฟอสซิลของมันถูกขุดพบที่อียิปต์ในปี ค.ศ. 1912 สไปโนซอรัสปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 100 ล้านปีแล้วมันกระโหลกศีรษะคล้ายจรเข้ และมีความยาวจากหัวจรดหางกว่า 15 เมตรและหนักราว 9 ตัน
แขนของมันมีขนาดใหญ่กว่าพวกนักล่าร่างยักษ์อื่น ๆ ทั้งยังมีกรงเล็บแหลมคมสำหรับใช้จับเหยื่อ ฟันรูปกรวยแบบเดียวกับจรเข้ของมัน แสดงให้เห็นว่าเหมาะกับการล่าปลาขนาดใหญ่ แต่ก็เช่นเดียวกับจรเข้ พวกสไปโนซอรัสก็น่าจะเชี่ยวชาญในการสังหารเหยื่ออื่นๆซึ่งก็รวมถึงไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน สไปโนซอรัสมีแผงกระดูกขนาดใหญ่บนหลัง ทำให้มันดูโดดเด่นและช่วยให้ขนาดของมันดูใหญ่ขึ้นไปอีก ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่า แท้จริงแล้ว แผงกระดูกดังกล่าวคืออะไร ระหว่างแผ่นหนังแบบกระโดงคล้ายปลากระโทงแทง หรือ อาจจะหุ้มด้วยกล้ามเนื้อแบบเดียวกับหนอกของควายไบซัน

ไดโนเสาร์กินเนื้อ "2"

ไดโนเสาร์กินเนื้อ                                                              


ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12เมตร หนัก ตัน เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ซิตตะโกซอรัส (อังกฤษ: Psittacosaurus) หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้นพบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้วหน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กีเพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว

ไดโลโฟซอรัส (อังกฤษ: Dilophosaurus) หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น มีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธ์ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศจีน อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน มีหงอนบนหัวไว้สำหรับโอ้อวดตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์
ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วจากไปจากการปรากฎตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดยภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สมมารถพ่นพิษออกจากปากได้เพียงเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สามารถพ่นพิษได้

สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง สไปโนซอรัส ถูกค้นพบครั้งแรกในอียิปต์ ในปี ค.ศ.1910 เป็นสัตว์กินเนื้อยืน ขา มีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูร่างกาย กะโหลกศรีษระมีจงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความยาว 16-18 เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 7 - 10 ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว13เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ เป็นอันดับ3ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส



ไดโนเสาร์กินเนื้อ"1"

                                    ไดโนเสาร์ "กินเนื้อ"


กิก้าโนโตซอรัส (อังกฤษ: Giganotosaurus) (สะกดได้2แบบ กิก้าโนโตซอรัส และจิกแกนโนโตซอรัส) มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ทุ่งปาตาโกเนียที่ประเทศอาร์เจนตินาช่วง กลางยุคครีเตเซียส 93 - 89 ล้านปี พบซากฟอสซิลในปี1993 เป็น ใน ไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตและดุที่สุด ยาว13.5เมตร และนํ้าหนักอยู่ระหว่าง 6.5-13.3 ตัน ความยาวกะโหลกศรีษระ 1.95 เมตร (6.3ฟุต) ขนาดของมันยาวกว่า ไทรันโนซอรัส แต่เล็กกว่า สไปโนซอรัส แต่ทว่ามันก็ยังมีคู่แข่งทางด้านขนาดอย่าง อัลโลซอรัส ที่ยาว 9เมตร (36ฟุต) คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่ยาว13เมตร (42ฟุต) สไปโนซอรัส ที่ยาว18เมตร (59ฟุต) ไทรันโนซอรัส ที่ยาว 12.5เมตร (40ฟุต) อโครแคนโตซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) มาพูซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) ซึ่งไม่ได้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกันกับ กิก้าโนโตซอรัส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า กิก้าโนโตซอรัส สามารถทำความเร็วได้ถึง 14 เมตรต่อวินาที (50kmต่อชั่วโมง)ด้วยขนาดอันใหญ่โตและขาที่ยาวของมัน



ซอราโตซอรัส (อังกฤษ: Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร

มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
ฟันของของเซอราโตซอรัสยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า
บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซอราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง


ไดโนเสาร์มีปีก

ไดโนเสาร์มีปีก

วารสารพีแอลโอเอส วัน (Public Library of Science One: PLoS One) ตีพิมพ์ผลการศึกษาฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานบินได้ในยุคดึกดำบรรพ์ของทีมนัก วิจัยอังกฤษ ที่พบว่าสัตว์ดังกล่าวมิได้มีพฤติกรรมบินโฉบเหนือผิวน้ำ เพื่อจับปลาในทะเลกินเป็นอาหาร ทว่ากลับค่อยๆ เดินย่องตะครุบเหยื่อบนบกเหมือนไดโนเสาร์นักล่าตัวอื่นๆ
ข่าวจากไลฟ์ไซน์ด็อตคอมรายงานว่า เท อโรซอร์ (pterosaur ) หรือสัตว์เลื้อยคลานมีปีกในยุคโบราณ ที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกในช่วง 230-65 ล้านปีก่อน ไม่ได้ล่าเหยื่อโดยการบินโฉบอย่างที่คิด แต่พวกมันกลับค่อยๆ เดินย่องเงียบก่อนที่จะเขมือบเหยื่อผู้โชคร้ายต่างหาก
การ ค้นพบนี้ขัดกับแนวคิดก่อนหน้า ของนักบรรพชีวินที่มักจะเข้าใจว่าพวกเทอโรซอร์เป็นนักล่า ที่หาอาหารโดยการบินโฉบลงมาจับเหยื่อจำพวกปลา ที่แหวกว่ายอยู่ใต้ผิวน้ำตามทะเลหรือทะเลสาบเช่นเดียวกับพฤติกรรมการหาอาหาร ของนกนางนวลในปัจจุบัน

“ตามทฤษฎีของพวกเรา การบินถือเป็นหลักการเคลื่อนที่ขั้นต้นเท่านั้น ที่พวกมันจะใช้วิธีนี้เพื่อเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง พวกเราคิดว่าการดำรงชีวิตหลักๆ ของพวกมัน ไม่ว่าจะเป็นการหาอาหารหรือการสืบพันธุ์ ย่อมกระทำเมื่ออยู่บนพื้นดิน มากกว่าขณะอยู่ในอากาศแน่นอน” คำชี้แจงของมาร์ค วิตตัน (Mark Witton) จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้วิ ตตันและทีมวิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการหาอาหารของพวกเทอโรซอร์ จากการวิเคราะห์ฟอสซิลของเทอโรซอร์กลุ่มที่ปราศจากฟัน หรือเรียกอีกอย่างว่า อัซห์ดาร์คิด (azhdarchid) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีปีกขนาดใหญ่กว่าเทอโรซอร์ชนิดอื่นๆ โดยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดหนักถึง 250 กิโลกรัม เมื่อกางปีกออกมีความกว้างราว 10 เมตร และลักษณะความสูงคล้ายกับยีราฟ
ข้อ มูลจากไทม์สออนไลน์รายงานว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 70 และวิถีการดำรงชีวิตของพวกมัน ก็เป็นหัวข้อที่นักวิทยาศาสตร์นำมาโต้แย้งกันค่อนข้างมาก และชื่ออัซห์ดาร์คิดนี้มาจากภาษาอุซเบกิสถาน ซึ่งหมายถึงมังกร โดยในไซน์เดลียังระบุเพิ่มเติมว่าอัซห์ดาร์คิดนี้มีลักษณะคล้ายกับนกในยุค ปัจจุบันบางชนิด คือ นกเงือกและนกกระสา
วิตตันศึกษาตัวอย่างฟอสซิลของอัซห์ดาร์คิดที่พบในประเทศมากกว่า 50% และในเยอรมนีอีกบางส่วน ศึกษา ตั้งแต่โครงกระดูกส่วนต่างๆ ตลอดจนช่วงคอ และขาหลัง เปรียบเทียบกับนกในยุคปัจจุบันที่หาอาหารโดยการร่อนเหนือผิวน้ำแล้วจับปลาใน ทะเลกิน ซึ่งพบว่าไม่สอดคล้องกันเลย
“ข้อมูล ทางกายวิภาคประกอบกับสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ค้นพบฟอสซิลอัซห์ดาร์คิดเหล่านี้ ก็บ่งชี้ว่าพวกมันดำรงชีวิตอยู่และหาอาหารโดยเดินไปเดินมาในบริเวณโดยรอบ ก้มหมอบให้ต่ำลง แล้วตะครุบจับเหยื่อในบริเวณนั้นกินเป็นอาหาร” คำอธิบายของดาร์เรน ไนช์ (Darren Naish) นักวิจัยในทีม
นัก วิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า สัตว์ที่จับปลาตามผิวน้ำกินเป็นอาหารอย่างเช่นนกนางนวลจะใช้จงอยปากล่างลาก ผ่านไปตามผิวน้ำจนกระทั่งกระทบถูกกับปลาหรือกุ้งแล้วจึงคาบขึ้นจากน้ำเพื่อ กินเป็นอาหาร ถ้าหากว่าจงอยปากของพวกมันไปกระทบหรือกระแทกถูกสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ แรงกระแทกจากจงอยปากก็จะถูกส่งผ่านไปยังส่วนหัว ลำคอ และภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้มันตกลงไปในน้ำได้ ดังนั้นพวกมันจึงต้องมีลำคอที่มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันตัวเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว
ทั้งนกนางนวลและนกกระทุงก็มีลำคอที่มีคุณสมบัติเป็นดังว่า แต่ไม่ใช่กับลำคอของอัซฮ์ดาร์คิดที่ นักวิจัยศึกษา ซึ่งแม้จะมีความยาวของช่วงลำคอราว 3 เมตร ทว่าแข็งทื่อเป็นอย่างมาก แต่ลำคอที่ยาวขนาดนั้นน่าจะเอื้อให้อัซห์ดาร์คิดเสาะหาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก กว่าที่อยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารได้อย่างไม่ยาก แม้แต่ไดโนเสาร์ขนาดเล็กเท่ากบ
เหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้ไดโนเสาร์มีปีกไม่ได้บินหาอาหารเหนือผิวน้ำ นักวิจัยชี้ว่าเพราะมีเท้าขนาดเล็กในขณะที่มีร่างกายขนาดใหญ่ จึงเป็นอุปสรรคต่อการลุยน้ำหรือย่ำในดินโคลนอ่อนนุ่มด้วยเท้าเล็กๆ ที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวกว่า 1 ใน 4 ตัน.